7 คำพูดที่ควรงด เมื่อลูกไม่มั่นใจ

เด็กแต่ละคนมีความกล้าแสดงออกแตกต่างกัน ไม่จำเป็นที่ลูกของเราต้องออกไปเต้น ออกไปแสดงอะไรบนเวที แต่สิ่งที่ลูกต้องมีคือความมั่นใจ ความมั่นใจที่พูดสิ่งที่ตัวเองคิด พูดสิ่งที่ตัวเองต้องการหรือไม่ต้องการ ตอบคำถามเวลาที่คุณครูถาม พ่อแม่สามารถช่วยลูกได้โดยการไม่ทำลายความมั่นใจของลูกด้วยการงดพูด 7 คำพูดด้านล่าง และที่สำคัญ ไม่พูดคำว่า

ลูกไม่มั่นใจ

หลายๆครั้งเราจะต้องเม้มปากตัวเองไว้ เวลาที่ลูกมั่นอกมั่นใจ จะปีนเครื่องเล่น ปีนต้นไม้ กระโดดข้ามท่อ ปีนก้อนหินใหญ่ๆ อะไรที่ดูแล้วน่าบาดเจ็บทั้งหลาย นั่นคือสิ่งที่เด็กถูกสร้างมาเพื่อทำมัน ความมั่นใจที่คิดว่า หนูทำได้ เป็นสิ่งที่ต้องการเก็บไว้

แต่บางทีความกลัวของเราก็เข้ามาขวางทาง เพราะหน้าที่ของเราในฐานะพ่อแม่ คือ ให้ความปลอดภัยสำหรับลูกทางกาย แต่อย่าลืมว่า เรื่องทางใจก็สำคัญไม่แพ้กัน เราทำอะไรบ้างละ เพื่อดูแลลูกทางใจ

เราทำอะไรเพื่อปกป้องความมั่นใจของลูก เราทำอะไรเพื่อปกป้องความอยากรู้อยากเห็นอยากสำรวจของลูก?

บางทีเราโฟกัสเรื่องร่างกายมากเกินไปจนลิมิตตัวเลือกให้ลูกเหลือแค่อะไรที่มันสบายใจเราจนลืมประโยชน์ของตัวเลือกอื่นๆ

ความจริงก็คือ เด็กต้องการความเสี่ยง เด็กต้องเล่นและสำรวจ ผลักดันตัวเองให้ทำสิ่งผิดพลาดและเรียนรู้ว่าความสามารถตัวเองอยู่ตรงไหน เป็นแผลถลอก หัวโน ข้อเท้าเคล็ด หรือแม้แต่ขาหัก ทุกอย่างซ่อมได้ แต่เราคงซ่อมจิตวิญญาณที่แตกหักไม่ได้

มาดูคำพูดเหล่านี้ที่ต้องระวังกันค่ะ

1. “หนูยังเด็ก/ยังเล็กเกินไป”
ใครกำหนดหรอ ว่าอะไรที่เด็กแค่ไหนทำได้บ้าง ถ้าเรายังไม่ได้ลองทำ ปีนที่สนามเด็กเล่นสูงๆ ลองแต่งตัวเอง หรือกระโดดลงจากที่สูง แทนที่เราจะบอกลูกว่า ลูกยังทำไม่ได้ เด็กเกินไป เราลองเปลี่ยนเป็นพูดว่า “แล้วแต่หนู หนูลองดูได้” ดีกว่า ถ้าเรารู้ว่ามันเกินลิมิตลูก ก็คอยยืนรอรับ รอช่วยอยู่ข้างๆนั้นแหละ คือ หน้าที่ของเรา

2.“หนูไม่ชอบหรอก”
มันผิดตรงไหนที่ลูกจะลองแล้วไม่ชอบมัน ลูกตัดสินใจผิดพลาดได้ นั่นคือเรื่องที่เราควรจะสนับสนุน เราไม่จำเป็นต้องใส่ความกดดันเพิ่มโดยการรอตอกย้ำว่า “เห็นไหม แม่บอกแล้ว” สิ่งที่ควรพูดคือ “โอเค แม่รอตรงนี้ถ้าต้องการแม่”

3. “เห็นไหม แม่เตือนแล้ว”
มันไม่ช่วยเพิ่มความมั่นใจให้ลูกเลย เวลาที่ลูกทำอะไรผิดพลาดแล้วสิ่งที่เขาได้รับคือการตอกย้ำความผิดพลาด คำพูดแบบนี้ทำให้ลูกคิดว่า ผู้ใหญ่รู้ดีกว่า และเด็กไม่สามารถรู้หรือเชื่อถือความสามารถของตัวเองได้ ไม่สามารถตัดสินใจให้ตัวเองได้ แทนที่จะพูดแบบนี้ ลองพูดแสดงความเห็นอกเห็นใจว่า “มันออกมาไม่เหมือนที่หนูคิดไว้ใช่ไหม หนูเสียใจ ผิดหวัง กลัว หรือหงุดหงิดไหมลูก “

4. “แล้วอย่าร้องไห้มาหาแม่นะ ถ้า….”
เราคิดจริงๆหรือป่าว? ว่าเราไม่อยากเป็นที่พึ่งให้ลูกเวลาที่เราร้องไห้เสียใจไม่ว่าเรื่องอะไร? คำพูดแบบนี้ทำลายความสัมพันธ์และความเชื่อใจ เด็กไม่จำเป็นต้องทำตามพ่อแม่สั่งเพื่อที่จะได้รู้สึกมีค่าที่จะสนับสนุนจากพ่อแม่ อย่าเอาความรักมาเป็นตัวประกันให้ลูกทำสิ่งที่เราต้องการ แทนที่จะพูดแบบนี้ ไม่ต้องพูดอะไรเลยดีกว่า แค่อยู่ตรงนั้น บอกลูกว่า มีอะไรก็มาหาแม่แล้วกัน

5. “ก็หนูไม่ให้แม่ช่วยเอง ตอนนี้ก็จัดการเอาเองและกัน”
ถ้าเราพูดแบบนี้ แสดงว่าเรายังไม่เข้าใจคอนเซ็ปของการช่วยเหลือ เราช่วยคนอื่นเพื่อให้เขาทำสิ่งที่เขาอยากทำ หรือ ช่วยเพื่อที่เราจะควบคุมสิ่งที่เขาเลือก?

ความมั่นใจเกิดขึ้นเมื่อลูกรู้ว่า เรามีที่ๆปลอดภัย คนที่ไว้ใจให้พึ่งพาเวลาที่สิ่งต่างๆไม่เป็นไปตามแผน ดังนั้นพ่อแม่ควรจะเป็นที่,เป็นคนคนนั้น สิ่งที่ควรพูด คือ จะให้ช่วยอะไรไหม ถ้าเขาอยากให้ช่วยอะไร ก็ช่วยตามที่เขาขอ (ถ้าลูกไม่ขอ ก็อย่าเพิ่งช่วยนะคะ ให้ลูกลองเองก่อน)

6. “ระวัง!”
อันนี้เคยเขียนอย่างละเอียดไปแล้ว อ่านได้ที่นี่ค่ะ >> https://goo.gl/CvCFiZ

7. “ดีมาก!”
อันนี้เคยเขียนอย่างละเอียดไปแล้ว อ่านได้ที่นี่เช่นกันค่ะ >> https://goo.gl/2jvDqF

อ่าน “เล่นเสี่ยงๆ ดีต่อลูก” >>https://goo.gl/5wxoyA