Key Takeaways
- พ่อแม่มากมายคิดว่าเด็กอนุบาลควรเลิกนอนกลางวัน แต่ในงานวิจัยล่าสุดพบว่า การเลิกนอนกลางวันส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองของเด็ก
- อ้างอิงจากงานวิจัย เด็กอายุ 3 – 5 ปี ได้ผลเชิงบวกเมื่อได้นอนกลางวัน เช่น ความจำดีขึ้น เรียนรู้ได้ดีขึ้น อารมณ์และสุขภาพดีขึ้น
- เด็กที่ไม่หลับ ควรได้นอนพักเงียบๆ แม้ว่าสุดท้ายจะไม่หลับ
- การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้เด็กหลับกลางวันได้ทุกๆวันคือสิ่งที่ดีที่สุด
- ‘Wasting time resting’ ไม่อยากเสียเวลาไปกับการนอนเพราะอยากให้เรียน เล่น มากกว่า? แต่เมื่อเด็กไม่ได้พักและไม่ได้นอน เด็กไม่สามารถจดจำหรือคิดหรือสร้างสัมพันธ์ดีๆ กับเพื่อนได้ การนอนหรือพักจึงไม่ใช่การเสียเวลา
ในวัยแห่งการเจริญเติบโตเช่นวัยเด็ก การนอนกลางวันคือการพักร่างกายและจิตใจ มีประโยชน์หลายอย่าง ดังนี้
- ช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี มีงานวิจัยเด็กอนุบาลพบว่า เมื่อทดสอบให้เด็กเล่นเกมความจำ เด็กที่นอนหลับกลางวันสามารถเล่นเกมได้ดีกว่า
- ช่วยให้เด็กสุขภาพสมบูรณ์ ไม่เป็นโรคอ้วน เพราะเมื่อเด็กนอนหลับไม่พอ เด็กมักจะรับประทานอาหารเพิ่ม และอาหารที่รับประทานนั้นมักจะไม่ใช่อาหารเพื่อสุขภาพ นอกจากนั้นเวลาเด็กอ่อนเพลีย เด็กมักไม่มีแรงวิ่งเล่นออกกำลัง
- ช่วยให้อารมณ์ดี เป็นที่รู้กันในหมู่พ่อแม่ผู้ปกครองอยู่แล้วว่าเด็กที่นอนไม่พอมักจะตามมาด้วยอาการงอแง ควบคุมตัวเองไม่ได้ มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์พบว่า เด็กอายุ 2 ปี ที่เว้นการนอนกลางวันบ้างจะมีความวิตกกังวลมากกว่า และแสดงออกเมื่อเจอเหตุการณ์ที่ไม่พอใจได้แย่กว่าเด็กที่นอนหลับกลางวันเป็นประจำ

เด็กส่วนใหญ่ที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบมักยังต้องการการพักผ่อนนอนกลางวันอยู่ สิ่งที่ช่วยให้เด็กนอนหลับกลางวันได้ง่ายขึ้น คือ การจัดตารางให้เป็นกิจวัตร ทำให้บรรยากาศเงียบและสงบ
ที่แคร์โรลล์ เพรพ นักเรียนระดับชั้น K0-K2 มีช่วงเวลานอนกลางวัน/นอนพักเงียบๆ ในช่วงอาทิตย์แรกๆ นักเรียนมักประสบปัญหาการนอนกลางวันที่โรงเรียน นักเรียนอาจนอนไม่หลับเพราะคิดถึงผู้ปกครอง บ้างก็ตื่นเต้นอยากเล่นตลอดเวลา แต่โดยส่วนใหญ่เมื่อเด็กปรับตัวได้ ไปพร้อมๆกับคุณครูที่อาจปรับกิจกรรมให้ออกนอกห้องเรียน ออกกำลังกายมากขึ้น เด็กทั้งหมดสามารถนอนกลางวันได้ ผู้ปกครองควรให้ความไว้วางใจในการตัดสินใจของคุณครูประจำชั้น
บางครั้งคุณครูตัดสินใจให้เด็กนอนเล่นเงียบๆ หรือบางครั้งคุณครูให้เด็กลุกขึ้นอ่านหนังสือเงียบๆ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการจัดการห้องเรียนโดยรวม และสภาพของนักเรียน ณ ขณะนั้นที่คุณครูสังเกตุได้
แคร์โรลล์ เพรพ ให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษา ฝึกฝนคุณครูของเราอยู่เสมอ
ที่มา : www.webmd.com/parenting/kids-naps
อ่าน เตรียมตัวพ่อแม่ส่งลูกเข้าเรียนวันแรก
www.verywellfamily.com/your-childs-brain-may-determine-when-they-give-up-naps-6823280
www.nih.gov/news-events/nih-research-matters/naps-can-help-preschool-children-learn