สัมภาษณ์- คุณจอร์จ แคร์โรลล์ ผู้คิดค้นไอเดีย ความคิดสร้างสรรค์ สร้างโรงเรียนในฝันที่เด็กๆ ทุกคนต้องอยากมา

วันนี้เรามาทำความรู้จักกับคุณจอร์จ แคร์โรลล์ หนึ่งในผู้ก่อตั้งศูนย์การเรียน Carroll Preparatory Primary & Preschool ซึ่งเป็นผู้กำหนดแนวทางการออกแบบโรงเรียนในฝันนี้ทุกตารางนิ้วทั้งหมดร่วมกับนักออกแบบภายใน นอกจากความสวยงามแล้ว สิ่งที่คำนึงถึงเป็นอันดับแรก คือ ความปลอดภัย และพื้นที่ต้องสามารถกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นให้กับเด็กได้

 

โรงเรียนในฝัน

 

                                                                                  George Carroll- Founder

“Childhood should be a time of wonder and joy”

R : “แนะนำตัวเองสักหน่อยได้ไหมคะ?”

G : “ผมเป็นครูในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2003 จนปัจจุบันก็ 18 ปีแล้ว ค่อนชีวิตผมคลุกคลีกับการศึกษาและเด็กมาโดยตลอดเพราะคุณแม่เองก็ทำเนอสเซอรี่ในอเมริกา ตอนนี้ผมมีลูกสาวและลูกชายอย่างละคนครับ”

 

R : “ความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กก่อนและหลังมีลูก มีความแตกต่างหรือเปลี่ยนแปลงไปไหม?”

G : “เรื่องความเข้าใจในตัวเด็ก ผมคิดว่าไม่แตกต่าง แต่ถ้าเรื่องความเปลี่ยนแปลงในชีวิต มันต่างมาก แต่ต่างในทางที่ดีขึ้นนะครับ

ผมมีความฝันอยากเป็นพ่อมาตั้งแต่สมัยมัธยมปลายแล้ว และเมื่อผมได้เป็นพ่อจริงๆ ผมคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่มาก ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่สนุกที่ได้เล่นกับเขาและได้ใช้เวลาร่วมกัน” 

R : “มีลูกสองคนนี่คือแพลนไว้แบบนี้อยู่แล้ว หรืออยากจะมีมากกว่านี้ไหมคะ?” 

G : “ผมอยากมีเยอะกว่านี้นะ แต่ภรรยาของผมไม่อยากมีเพิ่ม ผมอยากมีสัก 5-6คน” 

 

R : “บอกที่มาที่ไปของการออกแบบโรงเรียน Carroll Preparatory Primary & Preschool ให้พวกเราฟังหน่อยได้ไหมคะ?”

G : “การออกแบบต่างๆมาจากภาพในหัวของผมเอง ผมอยากจะมีในห้องเรียนที่แตกต่าง ไม่เหมือนใคร แต่ในการออกแบบนั้นก็อยู่บนพื้นฐานการออกแบบพื้นที่การเรียนรู้ที่มีอยู่แล้วจากหลากหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่นหรือยุโรป

 

Open-Classroom เป็นรูปแบบห้องเรียนที่ Midwest ของอเมริกา อย่างบ้านเกิดของผม เขาจะมีห้องเรียนเดียว แต่กว้างและรองรับนักเรียนได้ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล จนถึงประถม 4

R : “แล้วเขาจะเรียนกันยังไงคะ อายุต่างกันขนาดนั้น?”

G :” การคละอายุของนักเรียนในห้องเรียนมีประโยชน์ที่เห็นได้ชัดมาก  เด็กที่อายุน้อยจะมองเห็นเด็กที่โตกว่าเป็นแบบอย่าง และเด็กที่โตกว่าก็จะคอยดูแลน้อง สร้างความรับผิดชอบในการดูแลผู้อื่น เรียนรู้ที่จะนึกถึงผู้อื่น

พี่นั่งอ่านนิทานให้น้องฟัง น้องอยากโตไปอ่านได้เหมือนพี่  ลดปัญหาเด็กตามไม่ทัน หรือเด็กที่เร็วต้องมารอเด็กที่ช้าในห้องเรียนแบบทั่วไป เด็กจะมีโอกาสได้ไปเรียนทบทวนและเติมเต็มสิ่งที่ยังขาดไปได้และสามารถประสบความสำเร็จในการเรียนได้เช่นกัน”

R : “มีผู้ปกครองถามมาเยอะนะคะ ว่าการที่ห้องเรียนมันน่าตื่นตาตื่นใจแบบนี้ จะทำให้เด็กๆ คิดแต่จะเล่นอย่างเดียว ไม่อยากเรียนหรือป่าว อาจจะอยากปีนต้นไม้มากกว่า”

G : เด็กๆต้องปีนต้นไม้และเล่น” (น้ำเสียงจริงจัง)

เจอผู้ปกครองมาเยอะมาก ที่มีความคิดว่าไม่อยากให้ลูกเล่นเยอะ,  ไม่อยากให้ปีนต้นไม้, ไม่อยากให้เล่นเลอะเทอะ, ไม่อยากให้ออกไปเล่นข้างนอกโลก อยากลูกนั่งอยู่บนเก้าอี้และเรียนรู้เกี่ยวกับโลกจากคนอื่น แทนที่จะทำมันด้วยตัวเอง”

"เราอยากให้ลูกเรียนรู้ด้วยการนั่งมองคนอื่นใช้ชีวิต แทนที่จะออกไปใช้ชีวิตของตัวเองหรือ?" 

George Carroll - Founder of Carroll Prep Tweet

G : “ถ้าผมขอถามคุณว่า คุณอยากจะหนังด้วยตัวเอง หรือให้ใครไปดูแล้วมาเล่าหนังเรื่องนั้นให้คุณฟังละ? 

R : “ฉันคงอยากดูเองสิค่ะ”

G: “ใช่เลย ดังนั้นคุณอยากจะให้ลูกได้เรียนรู้โลกใบนี้ด้วยตัวเขาเอง ปีนป่ายด้วยความพยายามของเขา ไปดูแมลงและเรียนรู้สิ่งมีชีวิตด้วยตัวเขา ใช้เวลาเล่นและตั้งคำถามเรียนรู้เรื่องแรงโน้มถ่วง มีหลายสิ่งที่ให้เด็กได้เรียนรู้เยอะมาก ทั้งเรื่องแรง การเคลื่อนไหว ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นทักษะสำคัญในเชิงวิศวกรรม และพวกเขาสามารถทำได้ในวัยอนุบาล

ในอนาคตหากเขาสนใจในสาขาวิชานี้ พวกเขาก็จะเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เพราะพวกเขาเรียนรู้มันด้วยตัวเองมาแล้ว ดูสิ เราเจอนักเรียนไทยเยอะมากที่รู้อะไรเยอะมาก แต่ใช้ไม่เป็น เหมือนเรียนดนตรีแต่ไม่เคยจับเครื่องดนตรี สุดท้ายคุณทำได้แค่มอง ไม่รู้วิธีที่จะใช้มัน เพราะไม่มีประสบการณ์

เด็กบางคนอาจจะจำทุกอย่างในหนังสือเรียนเพื่อทำแบบทดสอบให้ผ่าน แต่พอหลังจากนั้น 2 สัปดาห์เขาก็ลืมหมดเพราะเขาไม่ได้เอาไปใช้ ไปทำอะไรต่อ และนี่คือปัญหาใหญ่ของการศึกษาไทย เรียนเพื่อลืม”

R : “เห็นจากการออกแบบตัวอาคารและการตกแต่ง ได้ข่าวว่ามีปรับเปลี่ยนเยอะมาก ต้องเพิ่มทีมออกแบบด้วย?” 

G: “ใช่ครับ ผมพัฒนาและปรับให้มันดีที่สุด ใส่องค์ประกอบต่างๆให้ได้มากที่สุด จากความรู้เกี่ยวกับเด็กที่เรามี”

R : “สามารถพูดได้ไหมว่านี่เป็นโปรเจคที่ใหญ่ที่สุดในชีวิตของคุณ?”

G: “แน่นอนที่สุด แต่มันจะใหญ่ขึ้นอีก และไม่ใช่โปรเจคสุดท้ายแน่นอน เราจะกระจายรูปแบบโรงเรียนแบบนี้ เราอยากให้มันได้แพร่กระจายไปทั่วประเทศ หลังจากอาคารนี้เสร็จแล้ว เราจะเริ่มต้นการตกแต่งตึกใหม่สำหรับระดับชั้นประถม 1-6  ซึ่งอาคารนั้นจะใหญ่ขึ้นอีก 4 เท่าของอาคารที่เราทำอยู่”

R: “สำหรับระดับประถม คุณยังจะคงรูปแบบการตกแต่งของตึกเหมือนเดิมไหม  เพราะเด็กก็จะเป็นอีกกลุ่มอายุหนึ่งที่โตขึ้น”

G: “ต่างมาก.. แตกต่าง เพราะแนวทางและไลฟ์สไตล์ของเด็กและการสอนก็จะปรับเปลี่ยนไปจากอนุบาล”

R: “สำหรับฉันแล้ว ในมุมมองของตัวเองตึกนี้เหมือนให้ความรู้สึกเหมือนเป็นป่า”

G: “ใช่ เหมือนกับเป็นสวนสาธารณะในร่ม ผมอยากให้ตึกนี้ให้ความรู้สึกเหมือนเป็นโลกใบหนึ่งให้เด็กเรียนรู้ เป็นเหมือนบ้านในสเกลที่ใหญ่มากๆ มาปรับใช้ให้เด็กได้เรียนรู้ในพื้นที่ที่เป็นธรรมชาติ

ผมไม่อยากแยกการศึกษาออกจากชีวิตประจำวัน ไม่อยากให้การไปโรงเรียน เข้าไปในห้องเรียนและเหมือนถูกแยกออกจากบ้าน สวนสาธารณะ ห้างสรรพสินค้า สถานที่ต่างๆ ห้องเรียนควรจะเป็นเหมือนโลก สะท้อนสิ่งที่มีจริงในโลก

โลกใบนี้ไม่ได้ถูกสร้างและตั้งค่าให้คนใช้ชีวิตอยู่ในห้องหนึ่งและต้องนั่งฟังใครบางคนพูดอยู่ในห้องสี่เหลี่ยม เราไม่ใช่ผู้ตามตลอด หรือเป็นผู้นำตลอด เหมือนบางทีเรานั่งรถไปด้วยกัน แต่ละคนในรถก็ทำหน้าที่ต่างกัน แต่ไปถึงจุดหมายตัวเองเหมือนกัน

ดังนั้นโรงเรียนควรเป็นพื้นที่เสมือนจริง ที่สามารถตอบสนองการมีชีวิตที่หลากหลายของคนที่แตกต่างกัน เพราะเด็กแต่ละคนก็มีความสนใจและสิ่งที่ต้องการแตกต่างกันไปเช่นกัน

ในระบบการศึกษาของไทย ผู้ปกครองของเด็กกว่า 50% ที่จ่ายค่าเทอมไปแล้ว แต่แทบจะไม่ได้ประโยชน์อะไรจากโรงเรียนเลย เหมือนจ่ายให้พี่เลี้ยงเด็กมากกว่าและไม่ใช่การเลี้ยงดูที่ดีด้วย เด็กต้องนั่งบนเก้าอี้ทั้งวันและทำการบ้านโดยไม่มีความคิดหรือความสนใจอะไรเลย

เมื่อคุณยื่นกระดาษเปล่าสักใบให้เขา ให้เขาเขียนอะไรด้วยตัวเอง เด็กหลายคนอาจจะช็อคหรือตกใจจนทำอะไรไม่ถูก เพราะไม่มีคำสั่ง ไม่มีขอบเขตของสิ่งที่ควรเขียน ไม่กล้าที่จะเขียน และไม่สามารถเขียนอะไรออกมาได้

การประเมินหรือการสอบของนักเรียนก็ล้วนมาจากการจำ จำแค่เพื่อสอบแต่ไม่ได้ใช้ทักษะการวิเคราะห์อะไรเลย และก็จะกลับไปที่ปัญหาเดิมว่าเด็กก็จะลืมในที่สุด”

อ่านเกี่ยวกับ Open-Classroom 

สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยว การสมัครเรียน การร่วมทุน สามารถติดต่อได้ที่ 02-954-2168